พัฒนาการของเด็กวัย 2-3 ปี

เด็กวัย 2-3 ปี จะเป็นเด็กช่างสงสัย เต็มไปด้วยคำถาม การเฝ้าดู การสังเกตและการเลียนแบบเชิงสำรวจ มีความสนใจในการฝึกทักษะอย่างมาก ชอบทำกิจกรรมซ้ำๆ วัยนี้จึงเป็นช่วงสำคัญที่จะทำให้เด็กเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงและความต่อเนื่องที่เกิดขึ้นในเวลาต่อมา
    เด็กชอบขีดเขียนเป็นเส้นยาว วงกลม และตั้งชื่อเส้นที่ขีดเขียนได้ ถีบจักรยานสามล้อได้ ยืนด้วย าข้างเดียวได้ กระโดดอยู่กับที่ได้ เดินขึ้นลงบันไดสลับเท้าได้ เล่นกระดานลื่นได้เอง ขว้างลูกบอล วิ่งไปเตะลูกบอลได้ ประกอบรูปจิ๊กซอว์ 3-6 ชิ้นได้ จับคู่รูปภาพ รูปเรขาคณิต จับคู่สีได้ รู้จักแม่สีหรือสีพื้นๆ ปั้นดินน้ำมันเป็นก้อนกลมๆ เป็นแท่งหรือบิดเป็นเกลียว ร้อยลูกปัดขนาดเล็กได้ ดูหนังสือได้ ด้วยตนเอง
    ทำตามคำสั่งที่เกี่ยวข้องกับการกระทำได้ 2-3 อย่าง เช่น ยืน ตบมือ กระโดด ชี้อวัยวะของร่างกายได้ 10 ส่วน เลือกรูปภาพตามสั่งได้ รู้จักตำแหน่ง สามารถวางวัตถุไว้ข้างบน ข้างใต้ และข้างในได้ สนใจฟังนิทานได้นาน 10 นาที เลือกจัดกลุ่มวัตถุตามประเภทได้

    พูดเป็นประโยคสมบูรณ์โดยใช้คำ3-5 คำ เล่านิทานจากรูป หรือ หนังสือง่ายๆ ได้ พูดถึงเหตุการณ์ที่ผ่านไปใหม่ๆ ได้
     เริ่มเล่นสมมติ รู้จักรอคอย ไม่ร้องไห้เมื่อแยกจากแม่ ใช้หลอดดูดของเหลวได้ ใช้ส้อมจิ้มอาหารรับประทานได้ ใส่-ถอดเสื้อ / กางเกงยางยืดได้ บอกเมื่อจะขับถ่าย แปรงฟันได้โดยผู้ใหญ่ช่วย ล้างมือและเช็ดมือได้
     เมื่อรู้สึกโกรธจะแสดงออกโดยท่าทางร่วมกับภาษา กลัวสิ่งที่เกิดจากจินตนาการมากขึ้น รักและเรียนรู้ที่จะสร้างความผูกพันกับคนนอกบ้าน
สิ่งที่พ่อแม่ควรทำ
- ควรสอนให้เด็กพูดบอกความต้องการได้เช่น ขอเล่นด้วย ขอโทษ ขอบคุณ บอกปฏิเสธได้
- พ่อแม่ต้องทำตัวเป็นตัวอย่างที่ดี อย่างสม่ำเสมอ และอบรมสั่งสอนลูก ด้วยเหตุผลง่ายๆ
- สอนลูกให้รู้จัก ทักทาย ขอบคุณ และขอโทษ ในเวลาที่เหมาะสม
- พาลูกเดินรอบบ้าน และบริเวณใกล้ๆ ชี้ชวนให้สังเกต สิ่งที่พบเห็น
- หมั่นพูดคุย ด้วยคำพูดที่ชัดเจน และตอบคำถาม ของลูก โดยไม่ดุ หรือแสดงความรำคาญ
- ชวนลูกแปรงฟัน เมื่อตื่นนอน และก่อนนอน ทุกวัน
- สนับสนุนให้พูด เล่าเรื่อง ร้องเพลง ขีดเขียน และทำท่าทางต่างๆ
- สังเกตท่าทาง ความรู้สึก ของลูก และตอบสนอง โดยไม่ไปบังคับ หรือตามใจลูก จนเกินไป ควรค่อยๆ
พูดและผ่อนปรน
- จัดหาของที่มีรูปร่าง และ ขนาดต่างๆ ให้ลูกเล่น หัดขีดเขียน หัดนับ แยกกลุ่ม และเล่นสมมติ
- ควรพูดให้ชัดเจน ออกเสียงให้ชัด พูดให้ถูกต้อง ไม่ล้อเลียนเด็กโดยการแกล้งพูดไม่ชัด หรือพูดภาษาของเด็ก และควรใช้ภาษาที่ซับซ้อนขึ้นตามลำดับเพื่อความก้าวหน้าทางภาษาของเด็ก
- ควรใช้ภาษาให้เหมาะกับวัยของเด็กและควรพูดกับเด็กบ่อยๆ เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ จดจำคำศัพท์ได้มากขึ้น

- ควรแก้ไขข้อบกพร่องในการออกเสียงของเด็ก ทั้งในด้านการใช้คำและประโยค เพื่อกระตุ้นให้เด็กเลียนแบบแทนการดุว่า ซึ่งอาจทำให้เด็กเกิดความคับข้องใจ ความเครียด และอาจนำไปสู่การพูดติดอ่าง
- ควรให้เวลากับเด็กอย่างน้อยวันละประมาณ 15 นาที ในการอ่านหนังสือให้เด็กฟัง โดยมีภาพประกอบ มีการสนทนาซักถามโต้ตอบ ควรเป็นภาพเกี่ยวกับชีวิตประจำวัน สัตว์ สิ่งของ
- จัดสิ่งแวดล้อมให้น่าสนใจ มีมุมหนังสือ หนังสือภาพ หนังสือนิทาน วิทยุและสื่ออื่นๆ ที่ช่วยกระตุ้นให้เด็กเกิดการเรียนรู้ภาษา สนใจภาษา และมีพัฒนาการทางภาษาดีขึ้น


ที่มา:คู่มือเลี้ยงลูก สำหรับคุณแม่มือใหม่

About Ladapa Pat.

ขอบคุณทุกคนที่แวะเข้าเยี่ยมบล๊อกของส้ม หากมีข้อติชมอะไร แนะนำได้เลยนะคะ ยินดีรับฟังค่ะ
    Blogger Comment
    Facebook Comment

2 ความคิดเห็น :

  1. ได้ความรู้ดี
    ฝากเว็บด้วยค่ะ..... 1 สิ่งที่ทำให้ลดน้ำหนักไม่สำเร็จ คลิกชม CLICK HERE

    ตอบลบ
  2. ได้ความรู้ดีครับ
    ฝากFacebook ของเล่นด้วยครับ
    https://www.facebook.com/Littletoyst/

    ตอบลบ

ค้นหา