อาหารเป็นสิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิต เพื่อให้มีการพัฒนาการด้านสมอง และการเจริญเติบโต มีความเหมาะสมในแต่ละช่วงอายุ อาหารที่แตกต่างกันทั้งปริมาณ รูปลักษณ์ และวิธีการประกอบอาหาร ในเด็กจะเน้นอาหารจากธรรมชาติ ไม่ปรุงแต่งรสชาติ โดยเฉพาะรสเค็มและรสหวาน รวมทั้งการดื่มนมจืด และการฝึกให้เด็กกินผลไม้แทนการกินขนม เพื่อการมีสุขภาพที่ดีแข็งแรง และมีบริโภคพิสัยที่ดี
พลังงาน โปรตีนและสารอาหารที่ควรได้รับใน 1 วัน
อายุ เดือนแรก : น้ำนมแม่ให้พลังงานและโปรตีนเพียงพอสำหรับการเจริญเติบโต
อายุ 6-11 เดือน : ทารกจะเริ่มได้พลังงานจากนมและอาหารเสริมที่มาทดแทนมื้อนม โดยมีมื้อนมและอาหารเสริม วันละ 6 ครั้ง โดยอาหารเสริมที่ได้รับควรได้รับอาหารครบ 5 หมู่ ตามลำดับ
หลังอายุ 1 ปี : เด็กควรได้รับอาหารหลักครบ 5 หมู่ วันละ 3 มื้อ และนมกับอาหารเสริม แคลเซียมวันละ 2 – 3 ครั้ง
ทารกแรกเกิด
นมเป็นอาหารที่มีความสำคัญต่อทารก อาหารนำไปใช้สร้างเซลล์สมอง การเจริญเติบโต การพัฒนาการของร่างกายและสติปัญญา อาหารหลัก ของทารกแรกเกิดคือนมแม่ นมแม่บริสุทธิ์ สะอาด ปราศจากเชื้อโรค สามารถให้ได้ทุกเวลาที่ทารกต้องการ มีสารอาหารต่างๆ ครบถ้วน ย่อยง่าย ไม่ทำให้ท้องอืด ปวดท้องและอาเจียน ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันสำหรับลูกน้อยได้เป็นอย่างดีอีกทั้งยังสร้างสายสัมพันธ์ที่ดีระหว่างแม่และลูก
ทารกสามารถกินนมแม่อย่างเดียวเพียงพอ 6 เดือนแรก โดยไม่ต้องเสริมอาหารอื่น ในช่วงแรกให้ลูกดูดนมแม่บ่อยๆ ตามที่ต้องการ ถ้าลูกเอาแต่นอนควรปลุกให้ดูดนมแม่ทุก 2 - 3 ชั่วโมง ควรให้ลูกดูดนมแม่ทุก 3 ชั่วโมงใน อายุ 3 เดือนแรก หลังจากนั้นควรให้มื้อนมเป็นทุก 4 ชั่วโมง หลังทารกอายุ 6 เดือนควรเริ่มให้อาหารอื่นเสริม เนื่องจากนมแม่มีปริมาณไม่เพียงพอ นมแม่ก็ยังคงเป็นแหล่งอาหารที่มีประโยชน์จนลูกอายุ 2 ปี
กรณีที่แม่ไม่สามารถให้ลูกกินนมแม่ การใช้นมผงควรเลือกสูตรนมที่เหมาะกับวัยของเด็กแต่ละคน
ประเภทของนมผง
1. นมผงดัดแปลงสำหรับเด็กทารก (นมสูตร 1) ใช้เลี้ยงทารกวัยตั้งแต่แรกเกิด – 1 ปี นมสูตรนี้มีคุณค่าของสารอาหารใกล้เคียงนมแม่
2. นมผงสูตรต่อเนื่องสำหรับทารกและเด็กเล็ก (นมสูตร 2) ใช้สำหรับทารกอายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป – 3 ปี นมสูตรนี้จะมีปริมาณโปรตีนสูงกว่านมสูตร 1
3. นมครบส่วน หรือนมผงธรรมดา (นมสูตร 1+) ใช้สำหรับเด็กอายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป
ปริมาณความต้องการนม มีความแตกต่างตามขนาดของทารก โดยทารกที่ได้ปริมาณนมเพียงพอ จะมีการเพิ่มของน้ำหนักและความยาวอยู่ในเกณฑ์ปกติ โดย (ทารกสามารถกินนมแม่เพียงอย่างเดียวจนอายุครบ 6 เดือน)สำหรับทารกที่กินนมผง ความถี่ ปริมาณนม และจำนวนครั้งแตกต่างกันตามอายุคร่าว ๆ ดังนี้
ช่วงอายุ
(เดือน)
|
ความถี่
(ชั่วโมง)
|
จำนวนครั้ง
ต่อวัน
|
ปริมาณ (ออนซ์)
ต่อครั้ง
|
1
|
2 – 3
|
8 – 10 ครั้ง
|
2 - 3
|
2 – 3
|
3 – 4
|
6 – 8 ครั้ง
|
3 - 4
|
4 – 5
|
4 – 5
|
5 – 6 ครั้ง
|
5 – 7
|
6 – 12
|
เช้า-บ่าย-ก่อนนอน
|
3 – 4 ครั้ง
|
6 – 8
|
อายุ 4 - 6 เดือน
ไม่จำเป็นต้องกินอาหารเสริมใดๆ นอกจากนมแม่ นอกจากกรณีที่นมแม่ไม่เพียงพอ น้ำหนักเด็กเริ่มเพิ่มขึ้น ต่ำกว่าเกณฑ์ อาจเพิ่มอาหารเสริมโดยเริ่มจาก 1 ช้อนชา และเพิ่มปริมาณมากขึ้นจนเป็นอาหาร 1 มื้อ แทนนม1 มื้อ
ลักษณะอาหาร เป็นอาหารอ่อนๆ บดละเอียด เหลวคล้ายนม เช่น ข้าวต้มบดผสมน้ำซุป หรือมะละกอบด ผสมน้ำเท่าตัว เริ่มให้เพียง 1 ช้อนชา ทารกยอมรับอาหารสามารถให้อาหารชนิดเดียวกัน 7 วัน เพิ่มขึ้นจนเป็น 1-2 ช้อนโต๊ะ สิ่งสำคัญไม่ต้องเติมรสชาติใดๆ ลงในอาหาร เพิ่มชนิดอาหารเช่น ตำลึง ฟักทอง ฟักเขียว แครอท มะเขือเทศ บร๊อคเคอรี่ สลับกันไป โดยเริ่มทีละอย่างผสมกับข้าว
อายุ 6 เดือน
ทารกเริ่มจับนั่งได้ ฝึกให้ลูกกินอาหาร 1 มื้อแทนนม ของทารกจะเพิ่มขึ้นเดือนละ 400 - 500 กรัม และต้องการสาร อาหารเพิ่มขึ้น ทารกมีการเจริญเติบโตและพัฒนาการอย่างรวดเร็ว การให้อาหารเสริมจึงมีบทบาทสำคัญต่อพัฒนาการในการกินอาหาร
ลักษณะอาหาร เป็นอาหารอ่อน บดละเอียด กึ่งแข็งกึ่งเหลว เนื้อสัตว์ให้ได้ 1 ช้อนโต๊ะ หรือไข่แดงต้มสุก 1 ฟอง ผสมผักสุกบดละเอียด และข้าวบด 3 ช้อนโต๊ะ ปลาที่ให้ควรเริ่มจากปลาน้ำจืด เช่น ปลาเนื้ออ่อน ปลานิล ปลาช่อน ลูกสามารถกินได้ในปริมาณ ½ - 1 ถ้วย และอาจให้ผลไม้เนื้อนุ่มย่อยง่าย เช่น มะละกอ มะม่วงสุกบดละเอียดเป็นอาหารว่าง
อายุ 7 เดือน
ฟันลูกเริ่มขึ้น มีความพร้อมที่จะฝึกการบดเคี้ยว
ลักษณะอาหาร ควรหยาบขึ้นกว่าเดิม ผสมน้ำต้มจืด ไข่แดงบดทั้งฟอง 1 ฟอง หรือเป็นเนื้อสัตว์อื่น เช่น หมูบดต้ม เนื้อปลาบดประมาณ 2 ช้อน โต๊ะ ผักใบต้มสับค่อนข้างละเอียด หรือฟักทองบด แครอท บด 1½ ช้อนโต๊ะ ผลไม้ครูด เช่น มะละกอ มะม่วง
อายุ 8 – 9 เดือน
ลูกสามารถเริ่มหยิบหรือจับของเข้าปากได้ ชอบหยิบสิ่งของเข้าปากและฝึกใช้ฟันบดเคี้ยวอาหาร
ลักษณะอาหาร อาหาร 2 มื้อ เช้า-เย็น แทนนม และนม 4 มื้อ อาหารข้นหยาบขึ้น ข้าวต้มนุ่มบดหยาบประมาณ 5 ช้อนโต๊ะ ไข่ 1 ฟอง เนื้อสัตว์ เช่น ปลาหรือหมูบดละเอียด 2 ช้อนโต๊ะ ผักต้มสุกสับหยาบ หรือ
ฟักทองบดหยาบ 2 ช้อนโต๊ะ ผลไม้ เช่น มะละกอสุก 2-3 ชิ้น หรือกล้วยน้ำว้าสุก 1 ผล ปริมาณอาหารที่ให้ไม่ควรให้มากเกินความต้องการของเด็ก
อายุ 10 เดือน
ลักษณะอาหาร อาหาร 2 มื้อ อาหารว่าง 1 มื้อ อาหารเหมือนกับเด็กอายุ 8 – 9 เดือน แต่มีลักษณะหยาบขึ้น เพิ่มอาหาร เช่นปลาทอด ใช้มือบี้ปลาต้องระวังก้างปลา
อายุ 10 – 12 เดือน
อาหาร 3 มื้อ นมวันละ 3 ครั้ง ๆ ละ 6 - 8 ออนซ์ อาหารครบ 5 หมู่ เหมือนผู้ใหญ่ ข้าวบดหยาบ ประมาณ 5 ช้อนโต๊ะ เนื้อสัตว์บด 3 ช้อนโต๊ะ ไข่ 1 ฟอง ผักต้มสุกสับหยาบขนาด 1 ซม.ประมาณ 2-3 ช้อนโต๊ะ ผลไม้
ประมาณ 3-4 ชิ้น หรือส้ม 1 ลูก การให้อาหารไม่ควรให้มากเกินไป เพราะทำให้อาเจียนได้
อายุ 1 ปี ขึ้นไป
ลูกสามารถถือช้อนเล็กพอเหมาะมือ ตักอาหารเข้าปากได้เอง อาหารควรมีความหลากหลายครบ 5 หมู่ รสไม่จัด วันละ 3 มื้อ และดื่มนม 2-3 แก้ว
ทีมา: คู่มือเลี้ยงลูก สำหรับคุณแม่มือใหม่,รศ.(คลินิก)แพทย์หญิงสุนทรี รัตนชูเอก และ คุณพิชามญชุ์ เลิศธนาไพจิตร
ได้ความรู้ดี
ตอบลบฝากเว็บด้วยค่ะ..... 1 สิ่งที่ทำให้ลดน้ำหนักไม่สำเร็จ คลิกชม CLICK HERE