1.
นมแม่ มีพัฒนาการยาวนาน
ถ้าดูจากวิวัฒนาการจะพบว่า สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เกิดขึ้นหลังยุคไดโนเสาร์
คือเมื่อ ประมาณ 200 ล้านปีที่ผ่านมา (cylodonts) สิ่งมีชีวิตที่เป็นบรรพบุรุษมนุษย์เดิน
2 ขา (Pleistocene) เกิดขึ้นเมื่อประมาณ
1.8 ล้านปี และมนุษย์ยุคปัจจุบันที่มีสมองใหญ่ขึ้น
(Holocene) เกิดขึ้นเมื่อประมาณ 10,000 ปีที่ผ่านมา
จากวิวัฒนาการนี้ แสดงถึงถึงระยะเวลาอัน ยาวนานการพัฒนาการของนมแม่ ที่คู่ขนานมากับพัฒนาการของมนุษย์
(Oftedal. 2002; 7: 225-252;
253-266) ต่างจากนมผสมที่มีระยะเวลาของพัฒนาการ
มาเพียงประมาณ 100 ปี การพัฒนาการอย่างค่อยเป็นค่อยไปตามธรรมชาติเป็นวิธีการที่ย่อมไม่สามารถเลียนแบบได้
2. น้ำนมแม่เป็นของเหลวที่มีชีวิตทุกหยด
น้ำนมระยะ colostrums จะมี
ปริมาณเม็ดเลือด ขาวสูงสุด และเป็นชนิด นิวโตรฟิลล์มาก ระยะ 4 วันหลังเกิด ปริมาณเม็ดเลือดขาวจะมี ปริมาณใกล้เคียงกับที่พบในกระแสเลือดและ
เป็นกลุ่ม macrophage มากกว่า เซลล์ทั้งสอง แบบเป็นแบบที่เมื่อย่อยสลาย
จะไม่ทำร้าย ร่างกายทารก หรือเกิดปฏิกิริยาที่รุนแรง
ปริมาณเม็ดเลือดขาวในน้ำนมแม่ (ต่อซีซี)
3.
ภูมิคุ้มกันและสารสำคัญจะส่งผ่านในระยะน้ำนมโคลอสตรัมได้มากกว่านมระยะหลัง
เนื่องจากในระยะ 14 วันหลังเกิด เซลล์
เยื่อบุท่อน้ำนม จะยังคงเปิดกว้าง -paracellular gap เรื่องนี้ก็เป็นความจำเพาะ
ของธรรมชาติที่จะส่งสารที่จำเป็นในการปกป้องชีวิตทารก ในระยะ ที่ทารกยังช่วยตัวเองไม่ได้
เรื่องนี้นมผสมก็ไม่สามารถเลียนแบบได้ ขณะเดียวกัน ก็เป็นการ บอกด้วยว่า การให้ยา ในแม่
ในระยะนม โคลอสตรัม ยาจะผ่าน paracellular gap ได้ดี เช่นเดียวกัน
จึงต้องเพิ่มความระมัดระวังในการให้ยา ในระยะนี้ด้วย
4.
สะเต็มเซลล์ในน้ำนมแม่ จะมีประโยชน์ต่อสุขภาพเด็กในอนาคต
5.
การลดความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยจากโรคติดเชื้อต่างๆ
โรคติดเชื้อทางเดินอาหาร พบว่าทารกที่ได้รับนมแม่อย่างเดียวในระยะ 13 เดือนแรกหรือ
นานกว่า จะมีโอกาสป่วยเป็นโรคท้องเสีย ในระยะ ขวบปีแรก น้อยกว่า 5 เท่า เมื่อเทียบกับทารกที่ ได้รับนมผสมอย่างเดียวหรือได้รับนมผสมร่วมกับนมแม่
การศึกษาในอียิปต์ พบว่าทารกที่ได้รับ นมแม่เร็วตั้งแต่แรกเกิด จะมีโอกาสท้องเสียน้อยกว่าร้อยละ
26 เมื่อเทียบกับเมื่อได้รับช้ากว่า โดย น่าจะเป็นผลจากน้ำนมโคลอสตรัม
และการศึกษาในบราซิล เด็กที่ได้รับนมแม่อย่างเดียวจะลด โอกาสท้องเสีย 14.2 เท่า ในประเทศไทย การศึกษาของ รพ.สวรรค์ประชารักษ์ก็พบเช่นเดียวกัน
ข้อมูลนี้นี้ยืนยันความสำคัญของการให้ได้รับนมโคลอสตรัม และ และการให้ได้รับนมแม่อย่างเดียว
การลดความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยจากกลุ่มโรคภูมิแพ้และหอบหืด
จากการศึกษาที่ผ่านมา พบว่าเด็กที่มีประวัติโรคภูมิแพ้ในครอบครัว การกินนมแม่อย่างเดียวเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 3 เดือน ช่วยลดโอกาสการเกิดโรคผื่นภูมิแพ้
(atopic dermatitis) และโรคหืดได้ร้อยละ 42 และ
48 ตามลำดับ ยิ่งไปกว่านั้น การกินนมแม่ช่วยลดโอกาสการแพ้โปรตีนนมวัวและการแพ้อาหารได้
ลดโอกาสการเป็นโรคมะเร็งในอนาคต
ทารกที่กินนมแม่ ลดโอกาสการเกิดมะเร็ง เมื่อโต เป็นผู้ใหญ่ เช่นลดโอกาสเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลือง
มะเร็งเม็ดเลือดขาว
ผลต่อการเจริญเติบโตของสมองและพัฒนาการ จากการศึกษาทั้งในและต่างประเทศ พบว่า
ทารกที่กินนมแม่มีพัฒนาการทางสมองดีกว่าทารกที่ไม่ได้กินนมแม่ทั้งในช่วงก่อนวัยเรียน
และวัยผู้ใหญ่ จากการศึกษาแบบ
meta-analysis จำนวน 8 การศึกษา แสดงให้เห็นว่าเด็กที่ได้รับ
นมแม่ในวัยทารกมีคะแนนเชาว์ปัญญาสูงกว่าเด็กที่ไม่ได้รับนมแม่ถึง 5 จุด ยิ่งไปกว่านั้น ยังพบว่า ความสำเร็จของการศึกษาในโรงเรียนมีความสัมพันธ์โดยตรงกับระยะเวลาของการได้รับนมแม่ในวัยทารก
การลดความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยจากกลุ่มโรคเรื้อรัง จากผลการศึกษาระยะยาว พบว่า
ทารกที่กินนมแม่เมื่อเติบโตขึ้น จะมีความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคอ้วน ความดันโลหิตสูง
โรคหัวใจและหลอดเลือด และเบาหวานน้อยกว่าทารกที่ไม่ได้กินนมแม่ทั้งในช่วงก่อนวัยเรียนและ
วัยผู้ใหญ่ โดยเฉพาะโรคอ้วนและเบาหวาน การกินนมแม่ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคได้ถึง
ร้อยละ 22 และ 37
6.
ผลดีต่อมารดา
พบว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งต่างๆ
ในมารดา เช่น ลดโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมได้ ร้อยละ 4-28 มะเร็งรังไข่ ลดลง ร้อยละ 9-32 ลด
โอกาสเป็นเบาหวาน ร้อยละ 4-12 การหยุดให้นมแม่เร็วหรือไม่ได้เลี้ยงลุกด้วยนมแม่
จะมี ความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะซึมเศร้า และในระยะให้นมแม่อย่างเดียวจะมีผลทำให้การตกไข่
เกิดขึ้นช้าลง และมดลูกเข้าอู่เร็วขึ้น
7.
ผลดีต่อเศรษฐกิจ สำหรับประเทศไทยการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวนาน 6 เดือน จะ ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการซื้อนมผงได้ถึง
3,600 ล้านบาท ในต่างประเทศ ศึกษาในทารกแรกเกิด 15,000 คน พบว่า เด็กที่กินนมแม่ ลดการต้องนอนใน รพ ด้วยโรค การติดเชื้อทางเดินหายใจ
ประมาณ 50% และลดการนอน รพ. ด้วยโรค ท้องเสียประมาณ
30% ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึง การลดค่าใช้จ่ายอย่าง
8.
ผลดีต่อสิ่งแวดล้อม การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ไม่ต้องใช้ทรัพยากร
ไม่ต้องขนส่ง ไม่มี packaging ไม่สร้างมลพิษ จึงเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ที่มา: www.thaibrestfeeding.com, พญ.ศิราภรณ์ สวัสดิวร ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี
0 ความคิดเห็น :
แสดงความคิดเห็น