แรกเกิด เด็กทุกคนที่ไม่มีภาวะผิดปกติ ไม่มีอาการแทรกซ้อนหลังคลอด จะได้รับวัคซีน
ป้องกันโรควัณโรค และตับอักเสบบี หลังจากนั้น แพทย์ / พยาบาล จะแนะนำพ่อแม่ในการรับวัคซีน
ตามวัยต่อไป
มารู้จักวัคซีนกันเถอะ
วัคซีน เตรียมมาจากเชื้อโรคหรือ บางส่วนของเชื้อโรค ซึ่งเมื่อให้เข้าสู่ร่างกายแล้วจะกระตุ้นร่างกายสร้างภูมิต้านทานต่อเชื้อโรคนั้นๆ การให้วัคซีนจึงเป็นการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคให้แก่ผู้รับวัคซีน
ประเภทของวัคซีน
วัคซีนพื้นฐาน หรือวัคซีนบังคับเป็นวัคซีนที่เด็กทุกคน ต้องได้รับ จำนวน 10 โรค คือ วัณโรค ตับอักเสบบี คอตีบ ไอกรน บาดทะยัก โปลิโอ หัด หัดเยอรมัน คางทูม และไข้สมองอักเสบ วัคซีนอื่นๆ ได้แก่ วัคซีนเผื่อเลือก วัคซีนพิเศษ วัคซีนใหม่ เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ไข้หวัดใหญ่ อีสุกอีใส ตับอักเสบเอ ฯลฯ โปรดสอบถามรายละเอียดจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
ตารางการให้วัคซีนแก่เด็ก
อายุ
|
วัคซีน
|
แรกเกิด
|
- วัคซีนวัณโรค
- วัคซีนตับอักเสบบี ครั้งที่ 1
|
2 เดือน
|
- วัคซีนรวมคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน-ตับอักเสบบี และหยอดโปลิโอ ครั้งที่ 1
|
4 เดือน
|
- วัคซีนรวมคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน-ตับอักเสบบี และหยอดโปลิโอ ครั้งที่ 2
|
6 เดือน
|
- วัคซีนรวมคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน-ตับอักเสบบี และ หยอดโปลิโอ ครั้งที่ 3
|
9 เดือน
|
- วัคซีนหัดหรือวัคซีนรวมหัด-คางทูม-หัดเยอรมัน
|
1 ½ ปี
|
วัคซีนไข้สมองอักเสบเจอี ครั้งที่ 1 และ 2 (ห่างกัน 4
สัปดาห์)- วัคซีนรวมคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน และหยอดโปลิโอครั้งที่ 4
|
2 ½ ปี
|
- วัคซีนไข้สมองอักเสบเจอี ครั้งที่ 3
|
4 ปี
|
- วัคซีนรวมคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน และหยอดโปลิโอ ครั้งที่ 5
|
* 6-7 ปี
|
- วัคซีนรวมหัด-คางทูม-หัดเยอรมัน (นักเรียน ป.1) ทุกคน - วัคซีนรวมคอตีบ-บาดทะยัก และหยอดโปลิโอ ในรายที่ได้ มาไม่ครบ 5 ครั้ง
|
* 12-13 ปี
|
- วัคซีนรวมคอตีบ-บาดทะยักทุกคน (นักเรียน ป.6)
|
หมายเหตุ 1. ในรายที่มารดาเด็กเป็นพาหะโรคตับอักเสบ บี ให้วัคซีนตับ อักเสบ บี ครั้งที่ 2 เมื่อเด็กอายุ 1 เดือน
2. * เจ้าหน้าที่สาธารณสุขจะให้บริการวัคซีน แก่เด็กวัยเรียนในโรงเรียน
|
เรื่องที่ผู้ปกครองเด็กควรทราบ
สมุดสุขภาพเด็ก มีความสำคัญ โปรดเก็บรักษาสมุดบันทึกสุขภาพของเด็กไว้ตลอดไป เพื่อตรวจสอบการรับวัคซีน และเป็นหลักฐานการรับวัคซีน ในการสมัครเรียนต่อต่างประเทศ และนำไปทุกครั้ง เมื่อไปรับวัคซีนตามนัด
เมื่อย้ายที่อยู่ โปรดนำสมุดสุขภาพเด็กไปขอรับ วัคซีนให้ครบ กทม.-ศูนย์บริการสาธารณสุข กทม. ประจำเขตพื้นที่ / สถานบริการ สาธารณสุขอื่นๆ ตามสิทธิบัตรทอง หรือ อื่นๆ ต่างจังหวัด-สถานีอนามัย / โรงพยาบาล ใกล้บ้านตามสิทธิบัตรทอง หรือสถานบริการ สาธารณสุขอื่นๆ
ประวัติของเด็ก ที่ควรแจ้งให้แพทย์ / พยาบาล ทราบก่อนรับวัคซีน
- หากเคยมีประวัติแพ้วัคซีน หรือส่วนประกอบในวัคซีน เช่น
มีประวัติแพ้ไข่อย่างรุนแรง
- มีโรคประจำตัวบางอย่าง เช่น โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง โรคที่ต้องกิน
ยาสเตียรอยด์ เคยมีการชักจากไข้สูง มีโรคลมชัก หรือโรคทางระบบประสาท
จะทราบอย่างไรว่าเมื่อไรลูกควรได้รับวัคซีนอะไร
เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์ ส่วนมากจะได้สมุดบันทึกสุขภาพ แม่และเด็ก ซึ่งมีกำหนดการให้วัคซีนแต่ละชนิดตามวัยของเด็ก กำหนดวันนัดรับวัคซีนและการบันทึกการให้วัคซีนในแต่ละครั้ง
เมื่อฉีดวัคซีนแล้ว ต้องระวังผลข้างเคียงอะไรบ้าง
ผลข้างเคียงที่อาจพบได้จากวัคซีน เช่นไข้ และอาการเจ็บบวม บริเวณที่ฉีด เป็นสิ่งที่พบได้บ่อยแต่พบอาการข้างเคียงที่รุนแรงน้อยมาก
1. การดูแลเมื่อมีไข้ให้ช่วยเช็ดตัวลดไข้ และรับประทานยาลดไข้ตามบุคลากรทางการแพทย์แนะนำ
2. มีอาการเจ็บบวมบริเวณที่ฉีดวัคซีน บรรเทาได้โดยการประคบน้ำเย็นบริเวณที่ฉีดใน 1 วันแรก หลังฉีดวัคซีน วันต่อมาประคบน้ำอุ่นเป็นระยะๆ
อย่างไรก็ตามหลังการฉีดวัคซีนทุกครั้ง ควรเฝ้าระวังว่าเด็กมีอาการผิดปกติอะไรหรือไม่ เช่นมีผื่นขึ้น มีไข้สูง ชัก พฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไป หายใจลำบาก เสียงแหบ หอบ ซีด อ่อนเพลีย บวม อาการเหล่านี้อาจเป็นอาการแพ้วัคซีนที่รุนแรงได้ ให้รีบพบแพทย์ทันที
ที่มา:คู่มือเลี้ยงลูก สำหรับคุณแม่มือใหม่,คุณเลิศลักษณ์ บางสุวรรณ์
0 ความคิดเห็น :
แสดงความคิดเห็น