ของดีที่มีเฉพาะในน้ำนมแม่เท่านั้น ตอนที่ 2



B  - BSSL ( Bile salt stimulated lipase):น้ำย่อยไขมันในนมแม่
            ทารก ที่กินนมแม่จะย่อยไขมันได้ดีกว่าทารกที่กินนมผสม เพราะ ในน้ำนมแม่มีน้ำย่อยที่ช่วยย่อยไขมันให้เล็กลง ไขมันจึงถูกดูดซึมเข้าร่างกายได้ดีขึ้น
             BSSL คือ น้ำย่อยที่ช่วยย่อยไขมัน จะมีในน้ำนมของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชั้นสูง เช่นมนุษย์ และลิงกอริลล่า เพราะฉะนั้น ในน้ำนมวัวจะมี BSSL ต่ำมาก และเมื่อเอามาทำให้เป็นผง ถูกกับความร้อน น้ำย่อยนี้หายหมดแน่
         นอกจากนี้ BSSL ยังสามารถย่อย วิตามินที่ละลายในไขมันด้วยเช่น retinol ester -วิตามิน A   จึงไม่น่าสงสัยว่าทำไมทารกที่กินนมแม่จึงมีพัฒนาการเรื่องการมองเห็นดีกว่า ก็เพราะสามารถดูดซึมวิตามิน A เอาไปใช้ได้ดีกว่านั่นเอง
         ทารกที่กินนมแม่ที่แม่บีบเก็บไว้ก็ไม่ต้องกลัว เพราะพบว่าน้ำนมแม่ที่แช่แข็งเก็บไว้ยังมีน้ำย่อยนี้อยู่ แต่ต้องระวังเวลาเอามาอุ่นต้องไม่ทำให้ร้อนเกินไป พบว่านมแม่ที่พาสเจอร์ไรซ์จะไม่มี BSSL
R -Relaxin
            เป็นฮอร์โมนชนิดหนึ่ง อยู่ในกลุ่มเดียวกับ  อินซูลิน (insulin) ผลิตจากรังไข่ของแม่ในช่วงตั้งครรภ์ก่อนคลอด   ทำให้ข้อต่อช่วงสะโพกมีความยืดหยุ่น เตรียมไว้สำหรับตอนคลอด  และทำให้ปากมดลูกอ่อนนุ่มขึ้น    นอกจากนี้ ยังช่วยการเจริญเติบโตและการแบ่งเป็นเซลล์ชนิดต่างๆของเนื้อเยื่อเต้านม
             ในน้ำนมของแม่ที่คลอดไปแล้ว  6  สัปดาห์ก็ยังพบว่ามี relaxin แสดงว่าต้องมีการผลิตจากเต้านมของแม่เองด้วย      ยังไม่มีการศึกษาผลของ relaxin ในทารกแรกเกิด แต่เชื่อว่ามีผลโดยตรงที่ทางเดินอาหารของทารก
            เวลาที่หัวนมของแม่แตก มักจะแนะนำให้ใช้น้ำนมแม่มาทาเคลือบที่หัวนม เพื่อช่วยสมานแผลให้หายเร็วขึ้น   และ relaxin ในน้ำนมแม่ก็อาจจะมีส่วนช่วยทำให้หัวนมมีความยืดหยุ่นมากขึ้น ทารกจะงับติดได้ดีขึ้น
E – Epidermal Growth Factor (EGF)
            ในน้ำนมแม่จะมีสารที่ช่วยการเจริญเติบโต(Growth  Factors) หลายชนิด นับเป็นของดีที่เป็นตัวเอก  นักวิจัยในช่วง40 ปีที่แล้ว พบว่าน้ำนมแม่เป็นตัวช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์เป็นอย่างดี ทั้งในหลอดทดลองและในร่างกายของสัตว์ทดลอง      ทางเดินอาหารของลูกหมูแรกเกิดที่ได้รับน้ำนมระยะแรก (colostrum) จะมีน้ำหนักและความยาวมากขึ้น   และยังพบว่ามีการสังเคราะห์โปรตีนมากขึ้นใน ตับ ไต ม้าม และกล้ามเนื้อ  
           Growth factor ที่สำคัญคือ  Epidermal Growth Factor (EGF)  เพราะ เป็นตัวที่ออกฤทธิ์ทางชีววิทยาแรงที่สุด     EGF  เป็น polypeptide  เล็กๆที่พบได้ในน้ำนมของสัตว์หลายชนิด และมีลักษณะเฉพาะตัวในน้ำนมแม่    EGF กระตุ้นการเพิ่มจำนวนของเซลล์เยื่อบุ (epidermal and epithelial tissues) และมีผลอย่างสำคัญในทารกในครรภ์และทารกแรกเกิด     ได้แก่  เพิ่มการเจริญเติบโต และการพัฒนาเซลล์บุผิวปอด  กระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ และการสังเคราะห์ DNA ในทางเดินอาหาร  และช่วยเร่งการหายของแผลบนผิวของเยื่อบุกระจกตา    EGF มีผลกระตุ้นเซลล์บุผิว duodenum ให้พัฒนาขึ้นเต็มที่ และเพิ่มการทำงานของ น้ำย่อย Lactase และ การนำเข้าแคลเซี่ยมในหนูทดลองแรกเกิด
            EGF ในน้ำนมอาจจะมาจาก เลือดแม่ หรือผลิตขึ้นที่เต้านม เมื่อทารกกินเข้าปาก  EGFจะไม่ถูกทำลายโดยกรดในกระเพาะอาหาร จึงสามารถไปออกฤทธิ์ในลำไส้ได้  โดยช่วยสมานแผลที่ลำไส้ด้วย    เช่น เมื่อมีเชื้อไวรัสมาทำลายเซลล์เยื่อบุทางเดินอาหาร   EGF ในน้ำนมแม่ช่วยให้แผลที่ลำไส้หายเร็วขึ้น  จึงไม่เป็นที่น่าแปลกใจเลยว่า  ถ้าทารกที่กินนมแม่มีท้องเสีย ก็จะหายเร็วกว่าเพราะมีสารช่วยเร่งการซ่อมเสริมเซลล์ที่ลำไส้อย่าง EGF นี่เอง
    การวัดปริมาณ  EGF ในน้ำนมแม่โดยเทคนิคหลายวิธี พบว่า  มีจำนวน  30-40 ng/ml   เทียบกับในนมวัว มี 2 ng/ ml  และไม่พบในนมผงหลายชนิด    เมื่อเอานมแม่ไปแช่แข็งหรือแช่เย็นมีการเปลี่ยนแปลงปริมาณน้อยมาก   ( Iacopetta BJ. Grieu F, Horlsber M et al :Epidermal growth factor in human and bovine milk, Acta Paediatr 81:287,1992)
   ขอแถมตัว E อีกตัว คือEndorphin , beta  ค่ะ ที่อยากจะกล่าวถึงสารตัวนี้ ก็เพราะว่า สังเกตมานานแล้วว่า เด็กที่กินนมแม่ทำไมอารมณ์ดีกันจัง จะดูสดชื่นยิ้มแย้มปรับตัวเข้ากับภาวะรอบตัวได้ดี น่าจะมี ผลมาจากฮอร์โมน  Endorphin ด้วยส่วนหนึ่ง    พบว่าในน้ำนมแม่ช่วงแรกที่เรียกว่าโคลอสตรัม ( colostrum) จะมี  Endorphin ชนิด beta สูงโดยเฉพาะ ในแม่ที่คลอดเองทางช่องคลอดและไม่ได้ให้ยาสลบทางไขสันหลัง   จะมีการหลั่งสารนี้ออกมาเพื่อให้ปรับตัวตอบสนองต่อความเครียด เนื่องจากจะมีฤทธิ์ทำให้เคลิบเคลิ้ม ลืมความเจ็บปวด  และยังส่งผลช่วยในการพัฒนาระบบต่างๆของทารกแรกเกิดด้วย
(J    Pediatr Gastroenterol Nutr. 2001 Aug;33(2):160-4.
Beta endorphin concentrations in human milk.
Zanardo VNicolussi SCarlo GMarzari FFaggian DFavaro FPlebani M.   Departments of Pediatrics and Physics and Institute of Laboratory Medicine, Padua University, Padua, Italy.vincenzo.zanardo@libero.it)

A-    Acetylhydrolase (Platelet  Activating Factor –Acetylhydrolase   PAF-AH)
  ประโยชน์ของน้ำนมแม่ที่สำคัญอีกอย่างคือ ป้องกันโรคลำไส้เน่าในทารกแรกเกิด (Necrotizing Enterocolitis –NEC) โดยเฉพาะทารกที่คลอดก่อนกำหนด  พบว่าสารที่มีบทบาทเด่นเรื่องนี้คือ  PAF-AH ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่พบได้ในน้ำนมแม่ แต่ไม่พบในนมวัว    เอนไซม์นี้หลั่งออกมาจากเซลล์ชนิด macrophage ในน้ำนมแม่  และไม่ถูกทำลายโดยกรดในกระเพาะอาหาร จึงไปออกฤทธิ์ในลำไส้เล็กได้ โดยจะย่อย PAF ซึ่งเป็นตัวการหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคลำไส้เน่า      ทารกที่กินนมแม่จึงพบโรคลำไส้เน่าน้อยกว่าทารกที่กินนมผสม(Furukawa, M., H. Naraham,K. Yasuda, and J. M. Johnston. Presence of plateletactivating
factor-acetylhydrolase in milk. J Lipid RES. 1993. 34:
1603-1609.)
1 . การผลิต IgA
2. การทำให้เกิด oral tolerance
สรุปจากงานวิจัยนี้ว่า TGF beta ในน้ำนมแม่ช่วงแรก ( colostrum) อาจป้องกันการเกิดภูมิแพ้ชนิด atopic ในช่วงที่ทารกยังกินนมแม่อย่างเดียวอยู่ และกระตุ้นให้เกิดการสร้าง Ig A ชนิดจำเพาะเจาะจงขึ้นในทารก
* , Arthur Ouwehand, PhDb , Heikki Arvilommi, MD, PhDc* , Pentti Kero, MD, PhDa, Erika Isolauri, MD, PhDa)
            เป็น growth factor ชนิด glycoprotein ที่ผลิตจากเซลล์ mesenchymal   ช่วยให้เซลล์ที่บุผิว รวมทั้งเยื่อบุในทางเดินอาหาร มีการเจริญเติบโต   เชื่อว่ามีบทบาทสำคัญต่อ การเติบโตเต็มวัยของเซลล์cell
            ยกตัวอย่างเช่น เวลาทารกท้องเสีย จะมีการทำลายเซลล์เยื่อบุผิวลำไส้โดยเชื้้อโรค
แต่ทารกที่กินนมแม่จะมีKGF ที่ช่วยให้มีการซ่อมแซมเซลล์ขึ้นมาใหม่ได้เร็วขึ้น
นี่จึงเป็นคำอธิบายอันหนึ่งได้ว่า ทำไมเด็กกินนมแม่จึงหายท้องเสียเร็วกว่า


 S - Secretory IgA
           สารภูมิคุ้มกันที่เรียกว่า  อิมมูโนโกลบูลิน  ( Immunoglobulin) มีหลายชนิด และทุกชนิด พบในน้ำนมแม่  ที่สำคัญที่สุดคือ  Secretory Immunoglobulin A เรียกสั้นๆว่า  SIgA    สารนี้ผลิตขึ้นในเต้านมของแม่ โดยเซลล์ชนิดพิเศษที่เดินทางมาจากลำไส้ หรือทางเดินหายใจ
          ที่บริเวณเยื่อบุลำไส้เล็กจะมีการรวมกลุ่มของเซลล์ชนิดพิเศษ เหมือนเป็นพลลาดตระเวนตรวจตราว่ามีเชื้อโรคมาบุกรุกหรือไม่   ถ้าพบเชื้อโรคเซลล์นี้ก็จะทำความรู้จักกับเชื้อว่ารูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไรจดจำไว้  แล้วเซลล์ก็จะเดินทางไปตามระบบท่อน้ำเหลืองจากลำไส้ไปสู่เต้านมของแม่  ที่เต้านมนี้เองที่เซลล์ชนิดนี้จะเริ่มขบวนการผลิตสารต่อต้านเชื้อโรคที่เพิ่งได้พบนี้ในรูปของ  SIgA ที่เฉพาะเจาะจงสำหรับเชื้อนั้นๆ ออกสู่น้ำนมแม่   เมื่อลูกได้ดื่มกินน้ำนมแม่เข้าไป ก็เท่ากับได้สารต้านทานเชื้อโรคนั้น ทันที  หากมีเชื้อเข้าสู่ตัวลูกก็จะถูกทำลายโดย  SIgA  เชื้อจึงไม่สามารถเข้าสู่ทารกได้   จึงทำให้ทารกที่กินนมแม่ไม่ค่อยเจ็บป่วยด้วยเรื่องลำไส้อักเสบ หรือท้องเสีย

 T- Transforming Growth Factor –beta (TGF-beta)
         ในบรรดาสารที่ออกฤทธิ์ทางชีววิทยาหลายๆตัวที่พบในน้ำนมแม่     ไซโตไคน์               ( cytokine )เป็นชนิดที่ได้รับการค้นพบใหม่ล่าสุด และหนึ่งใน นั้นคือ  TGF -beta   
ข้อมูลจากห้องทดลองและสัตว์ทดลอง พบว่า TGF-beta มีผลต่อระบบภูมิคุ้มกัน 2 ทางคือ
(Transforming growth factor-beta in breast milk: A potential regulator of atopic disease at an early age*Marko Kalliom?ki, MDa

M –Macrophage
เป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่ง มีในน้ำนมแม่ หน้าที่คอยช่วยจับกินเชื้อโรคต่างๆ ทำให้เชื้อโรคไม่เข้าสู่ร่างกายลูก     นึกถึงภาพเวลาเซลล์พวกนี้กินเชื้อโรค เซลล์จะยืดตัวออกเหมือนอ้าแขนโอบล้อมเชื้อไว้ แล้วกลืนเข้าไปในเซลล์   ต่อมาก็มีสารมาทำลายเชื้อโรคนั้น
            เซลล์ที่มีชีวิต เป็นของดีที่มีเฉพาะในน้ำนมแม่เท่านั้น  น้ำนมวัวที่ผ่านความร้อนจนเป็นผงจะไม่มีเซลล์หลงเหลืออยู่เลย

 I - IGF (Insulin-like Growth Factor I &II)
           IGF I &II เป็นฮอร์โมนที่ผลิตจากตับ มีบทบาทเกี่ยวกับการเจริญเติบโต และการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนเซลล์ เมื่อIGF เข้าสู่ลำไส้จึงกระตุ้นให้เซลล์เยื่อบุผิวลำไส้มีมากขึ้น พื้นที่ในการดูดซึมสารอาหารต่างๆจึงเพิ่มมากขึ้น         พบว่า ในน้ำนมแม่ช่วง colostrum มีระดับ IGF สูงกว่าในเลือดถึง 30เท่า หลังคลอด 4-5 วันก็จะลดระดับลงอย่างรวดเร็ว

L- Lysozyme
           เป็นเอนไซม์ตัวหนึ่งที่ทนต่อความร้อนและกรด  สามารถฆ่าเชื้อโรคได้ โดยการทำลายผนังเซลล์ของเชื้อแบคทีเรีย ไม่พบ lysozyme ในอุจจาระของทารกที่กินนมผสม  แต่พบlysozyme จำนวนมากในอุจจาระของทารกที่กินนมแม่   นอกจากนี้ยังพบว่าถ้าเอานมผงมาผสมกับน้ำนมแม่ จะลดการทำงานของ lysozyme ลงไปด้วย

K-  Keratinocyte growth factor


Journal of Pediatric Gastroenterology & Nutrition:
October 1999 - Volume 29 - Issue 4 - p 506
Abstracts: Annual Meeting of the North American Society for Pediatric Gastroenterology and Nutrition; Denver, October 21-24, 1999
การให้นมแม่ตั้งแต่แรกเกิดเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า  ทั้งนี้เพราะอาหารในช่วงแรกๆของชีวิตจะมีผลระยะยาวตลอดชิวิต เช่น hormone ในน้ำนมแม่หลายชนิด จะเปรียบเสมือนตัวจุดชนวน ให้โปรแกรมต่างๆในร่างกายทารกแรกเกิดเริ่มทำงาน ยกตัวอย่างเช่นเรื่องของความอ้วน พบว่า ทารกที่กินนมแม่ในระยะยาวจะอ้วนน้อยกว่าทารกที่กินนมผสม ทั้งนี้เพราะสมองได้รับการโปรแกรมจากสารหลายตัวในนมแม่ ให้ควบคุมการกินอาหารและการเผาผลาญไขมัน
                       ของดีที่พบได้ในนมแม่มิได้มีเพียงเท่านี้ การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ทำให้แม่ลูกมีความรักความผูกพันกัน  ส่งเสริมการสร้างเส้นใยประสาทในสมองทำให้สมองพัฒนาได้เต็มที่ตามศักยภาพ   การให้นมแม่จึงเป็นการวางรากฐานสุขภาพที่ดีในอนาคตให้กับลูกด้วย 

ตารางเปรียบเทียบสารอาหารในนมแม่




ที่มา: thaibreastfeeding.com, พญ.  ศิริพัฒนา ศิริธนารัตนกุล

About Ladapa Pat.

ขอบคุณทุกคนที่แวะเข้าเยี่ยมบล๊อกของส้ม หากมีข้อติชมอะไร แนะนำได้เลยนะคะ ยินดีรับฟังค่ะ
    Blogger Comment
    Facebook Comment

0 ความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น

ค้นหา